urdam1

เขื่อนอุบลรัตน์ : ประวัติ ลักษณะเขื่อน ข้อมูลทางเทคนิค

1. ประวัติเขื่อนอุบลรัตน์   

  • เขื่อนอุบลรัตน์ ตั้งอยู่ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียว เขื่อนอุบลรัตน์เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของประเทศไทย ซึ่งสร้างขึ้นถัดจากเขื่อนภูมิพล เป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของประเทศไทยต่อจากเขื่อนภูมิพล สร้างปิดกั้นแม่น้ำพอง ตรงบริเวณที่เรียกว่า "พองหนีบ" ตำบลโคกสูง อำเภอน้ำพอง (ปัจจุบันเป็นอำเภออุบลรัตน์) จังหวัดขอนแก่น อยู่ห่างจากตัวจังหวัดขอนแก่น ประมาณ 50 กิโลเมตร โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2507 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2509 โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (ฐานันดรศักดิ์ในขณะนั้น) ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509 ทรงพระราชทานชื่อเขื่อนนี้ว่า “เขื่อนอุบลรัตน์”

 

  • ความเป็นมาของเขื่อนอุบลรัตน์ ระหว่างวันที่ 20 – 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ผู้เชี่ยวชาญจาก 4 ประเทศ คือ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนามใต้ โดยความสนับสนุนของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งเอเซียและตะวันออกไกล (ECAFE) ได้ประชุมหารือกันเกี่ยวกับการพัฒนาลุ่มน้ำโขงตอนล่างเพื่อประโยชน์ในด้านการชลประทาน การผลิตกระแสไฟฟ้า การประมง และการป้องกันอุทกภัย ที่ประชุมได้ให้ผู้แทนทุกฝ่ายเสนอให้รัฐบาลทั้ง 4 ประเทศ ภายใต้ความอุปถัมภ์ของสหประชาชาติ (United Nations) คณะกรรมการฯได้ลงมติว่าใน 4 ประเทศ ที่ร่วมงานกันนี้ จะดำเนินงานพัฒนาแหล่งน้ำประเทศละ 2 สาขา ซึ่งสำหรับประเทศไทยเราได้เสนอโครงการน้ำพอง (ปัจจุบันคือ เขื่อนอุบลรัตน์) และโครงการน้ำพุง (ปัจจุบันคือเขื่อนน้ำพุง) เป็นสาขาของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำโขงตอนล่าง

ปี พ.ศ. 2502 คณะกรรมการประสานงานการสำรวจลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ได้ดำเนินการสำรวจลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง อีกหนึ่งปีต่อมาคณะกรรมการประสานงานการสำรวจลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ได้เสนอให้มีการพิจารณาโครงการน้ำพองเป็นอันดับแรก เพราะโครงการนี้จะให้ประโยชน์แก่การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือนานัปการ

ปี พ.ศ. 2503 องค์การสหประชาชาติ ได้ทำการว่าจ้างบริษัท Rogers International Corporation จากสหรัฐอเมริกาให้มาดำเนินการสำรวจเบื้องต้นให้กับโครงการน้ำพอง โดยใช้เงินจากกองทุนพิเศษสหประชาชาติ (UN Special Fund) ต่อมาในปี พ.ศ. 2505 รัฐบาลได้นำรายงานการสำรวจเบื้องต้นเสนอต่อรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เพื่อขอกู้ยืมเงินมาเป็นค่าก่อสร้างโครงการ รัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันได้ลงมติให้ความสนับสนุนโดยผ่านสถาบันเครดิตเพื่อการบูรณะแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (K.F.W. หรือ Kreditanstall fur Wiederaufbau)

ปี พ.ศ. 2506 การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัท Salzgitter Industriebau GmbH. แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เป็นบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา เพื่อสำรวจรายละเอียดออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง โครงการพัฒนาแม่น้ำพอง

ปี พ.ศ. 2507 ได้เริ่มก่อสร้างโครงการโดยการกู้เงินจาก สถาบันเครดิตเพื่อการบูรณะแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (K.F.W.) การก่อสร้างได้แล้วเสร็จเมื่อปลายปี พ.ศ. 2508 และเริ่มดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509

ปี พ.ศ. 2512 ได้โอนย้ายจากการไฟฟ้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

 

  • วัตถุประสงค์ของการสร้างเขื่อนนี้เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า การชลประทาน การบรรเทาอุทกภัยและการประมง เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2507 และเริ่มใช้งานเมื่อปี พ.ศ. 2509 ลักษณะตัวเขื่อนเป็นเขื่อนหินทิ้ง มีแกนกลางเป็นดินเหนียว สูง 32 เมตร โดยที่สันเขื่อนอยู่ที่ระดับ 185.00 ม.รทก.

 ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 และ พ.ศ. 2523 ได้เกิดอุทกภัยขนาดใหญ่มาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จึงได้จัดทำโครงการปรับปรุงเขื่อนอุบลรัตน์ เพื่อให้สามารถเผชิญกับอุทกภัยขนาดเช่นที่เคยเกิดขึ้น หรือขนาดใหญ่กว่าที่เคยเกิดขึ้นได้ งานก่อสร้างปรับปรุงเขื่อนอุบลรัตน์ได้เริ่มขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ. 2527 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2530

 
dscf0896edit

2. ลักษณะเขื่อน 

2.1) ตัวเขื่อน ( DAM )

ชนิด  :  หินทิ้งแกนดินเหนียว 
ความสูงตัวเขื่อน  36.10 ม. ( จากท้องน้ำเดิม )
ความยาวสันเขื่อน  885 ม. ( รวมทางระบายน้ำล้น 100 ม. )
ความกว้างสันเขื่อน  6 ม.
ระดับสันเขื่อน  +188.10 ม. ( รทก. )
ความกว้างฐานเขื่อน  125 ม.
ความลาดชันด้านเหนือน้ำ  1:3 และ 1:1.5
ความลาดชันด้านท้ายน้ำ  1:3 และ 1:1.5
ปริมาตรของตัวเขื่อน  694,000 ลบ.ม.